วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


                                                            บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...30....เมษายน..2558...ครั้งที่...13..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

            การเรียนการสอนในวันน้เป็นการสอบร้องเพลงที่ได้เรียนมาและมอบราววัลให้กับเด็กดีซึ่ง ช่อผกา ก็ได้นะคะ
           สำหรับการร้องเพลงนั้น ได้เพลง พระอาทิตย์ ซื่งการร้องเพลงนั้น ไม่กลัวนะคะ แต่ร้องเพี้ยนค่ะ 55555 แต่เพี้ยนแบบไพเราะเพราะพริ้ง ฟังแล้วเพลิดเพลินเลยคร้าาา


ราววัลเด็กดีนี้ได้ 2 เทอมแล้วนะคะ

การประเมินตนเอง
     
      สำหรับการร้องเพลงในวันนี้ร้องได้ ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะเหนื่อยและตื่นเต้น และเป็นเพลงที่ไม่ค่อยถนัน แต่ถ้าเป็นเพลงอื่นนี่ เสียงไพเราะ ดังกังวาลแน่ค่ะ อิอิ แต่ยังไงก็จะไปฝึกร้องบ่อยๆนะคะ และจะนำเพลงไปใช้สอนจริงในอนาคตด้วยค่ะ

การประเมินเพื่อน

      เพื่อนทุกคนตั้งใจร้องเพลงอย่างมาก และสีหน้าเคร่งเครียด ลุ้นระทึก เลยทีเดียว ทุกคนร้องเพลงออกมาก็มีเพราะบ้างเพี้ยนบ้าง แต่อาจารย์ก็ให้อภัยค่ะ

การประเมินอาจารย์

      นี่คงเป็นการประเมินอาจารย์ตรั้งสุดท้ายของการเรียนวิชานี้ หรือสุดท้ายของเทิมและปี 3 ดีใจทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์เบียร์นะคะ สนุก ชอบ ไม่เคยขาดเรียนเลยไม่รู็ว่าเพราะอะไร เพราะกลัวไม่ได้เด็กดี หรือเพราะกลัวเรียนไม่ทันเพื่อนกันแน่  แต่อันทหลังนะคะเหมาะที่สุด คริคริ อาจารย์เบียร์น่ารัก ใครๆก็รักอาจารย์ อาจารย์จำได้ไหมว่าเทอมที่แล้วที่อาจารย์บอกว่า ถ้ามีวาสนาร่วมกันคงได้มาเรียนด้วยกันอีก ในเมื่อเราได้มาเรียนมาสอนพวกหนูบ่อยขนาดนี้ คงไม่ใช่วาสนาแล้วมั้งคะ 555 แต่อาจารย์ก็คงมีความสุขละเนาะที่ได้สอนพวกหนู 
     ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรขอเรียกว่าความผูกพันธ์แล้วกันนะคะระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ อาจารย์คอยเป็นกำลังใจ คอยเป็นที่ปรึกษา เหมือนเพื่อน  เหมือนพี่ และเหมือนครอบครัวเดียวกันเลยนะคะอาจารยรู้ไหม เมื่อถึงอะไรไม่ออกเกี่ยวกับการเรียน จะนึกถึงอาจารย์เสมอว่า ลองไปถามอาจารย์เบียร์ก่อนไหม 
     อยากบอกว่าไม่ชอบเห็นอาจารย์เบียร์งอน นอยด์ หรือหงุดหงิดเพราะวันนั้นเห็นแล้วรู้สึกแปลกๆ 55 แต่หนูก็คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา มนุษย์ต้องเป็นแบบนี้ทุกคน ไม่มีใครจะไม่เหนื่อยหรือไม่นอยด์  แต่ยังไงก็ขอให้อาจารย์สู้ๆ สุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้วที่สำคัญอยู่สอนหนูไปจนจบเลยนะคะ..สาธุ^_______^love love


           
ความทรงจำที่แสนพิเศษ #ข่อยฮักเจ้าเด้อครูเบียร์...คริคริ

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


                                                           บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...21....เมษายน..2558...ครั้งที่...12..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

           การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) หรือเรียกว่า แผน IEP
         
           แผน IEP

  • เป็นแผนการศึกษษที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ต้องจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • ในแผนต้องระบุวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดการประเมินผลเด็กให้ชัดเจน
  • 1 แผน ใช้ใน 2 เทอม หรือ 1 ปี
  • การเขียนแผน IEP ร่วมเขียนโดยครูประจำชั้นและผู้ปกครอง
  • เมื่อเขียนแผน IEPเสร็จต้องได้รับการยินยอมหรือการได้รับอนุญาติใช้จาก ผู้บริหาร และผู้ปกครอง จึงจะใช้แผนนั้นได้
         การเขียนแผน IEP
  • การคัดแยกเด็กออก ครูจำเป็นต้องรู้จักเด็กแต่ละคน รู้ว่าเด็กมีปัญหาในเรื่องอะไร เด่นในเรื่องใด ด่อยในเรื่องไหน และควรได้รับการส่งเสริมอย่างไรถึงจะตรงความต้องการของเด็ก เพราะจะได้เขียนแผนตรงตามพัฒนาการและความต้องการของเด็กอย่างละเอียดก่อนเขียน
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ เพื่อทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด การเขียนแผน IEP ส่วนมากจะเขียนในเทอม2 ยกเว้นน้องมีแผนมาจากที่อื่นแล้ว
  • เด็กสามารถทำอะไร / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • เมื่อมีข้อมูลเด็กพร้อมก็เริ่มเขียนแผน IEPได้
          
               IEP  ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมิน
              ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ความสามารถของตนเอง
  • ได้มีโอกาศพัฒนาศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
             ประโยชน์ครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
            ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ 
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร 
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
            ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์ 
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง  พ่อแม่ ครูประจำชั้น ผู้บริหาร ครูการศึกษาพิเศษ
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น 
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม 
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
              การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว 
  • ระยะสั้น
             จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง 
–  น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
–  น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
–  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

            จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร 
  • พฤติกรรมอะไร 
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด) 
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

  • ใคร                                      อรุณ 
  • อะไร                                    กระโดดขาเดียวได้ 
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน                  กิจกรรมกลางแจ้ง 
  • ดีขนาดไหน                         กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที 
3. การใช้แผน    
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก 
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง 
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ 
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น 
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม

                         อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน** 

การจัดทำ IEP

1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. เพื่อนำวิธีการเขียนแผนที่ถูกต้องไปใช้เขียนให้กับเด็กในอนาคต
  2. เพื่อนำวิธีการก่อนการเขียนแผนไปปรับใช้
  3. เตรียมตัวก่อนการเขียนแผนคือการสังเกตพฤติกรรมเด็กให้ละเอียด
  4. มีการวางแผนก่อนการเขียนแผนกับเด็ก
  5. เพื่อที่จะได้เขียนแผนเป็นและดหมาะกับพัฒนาการของเด็ก
  6. ใช้ในการปฏิบัติตนเป็นครูที่ดีในการมอบสิ่งที่ดีๆให้กับเด็กในการเขียนแผน
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม
  5. เพลิดเพลินกับการเรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่ก็มีมาสายบ้าง
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจจดบันทึก
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และทำกิจกรรมในห้อง
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น่ารัก
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. สอนเรื่องการเขียนแผนเข้าใจ
  6. อาจารย์อธิบายได้อย่างเข้าใจ
  7. ขณะทำกิจกรรมในห้องอาจารย์ก็ใส่ใจนักศึกษาโดยการเดินดูทั่วห้อง

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


                                                               บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...7....เมษายน..2558...ครั้งที่...11..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

          การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ (ทักษะพื้นฐานทางการเรียน)
          เป้าหมายเพื่อ 

  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • พัฒนาความกะตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
         ช่วงความสนใจ  
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
  • การเล่านิทานให้ฟังควรเลือกเรื่องสั้นๆน่าสนใจ
  • เด็กฟังนิทานจบจะเกิดความภูมิใจแล้วอยากฟังอีก
  • ต้องฝึกเด็กพิเศษให้มีสมาธิ 10 -15 นาที
         การเลียบแบบ
  • เด็กพิเศษจะเลียบแบบ เพื่อน ครู รุ่นพี่
  • จับเด็กเป็นคู่ เด็กพิเศษกับเด็กปกติ เวลาเรียกก็เรียกไปทั้ง สองคน
  • กรณีให้เด็กไปหยิบของให้ เช่น น้องแนนเป็นเด็กพิเศษ กอย เป็นเด็กปกติ   ครูต้องเรียกว่า น้องกอยกับน้องแนนไปหยิบหนังสือที่วางอยู่บนโต๊ะครูให้หน่อยนะลูก การเรียนต้องดูด้วยว่าน้องหันมาไหม ถ้าหันมาครูก็สั่ง แต่ถ้ายังไม่หัน ครูก็เรียกซ้ำอีกรอบ เด็กพิเศษจะเลียบแบบเด็กปกติแล้วเดินตามเด็กปกติไป
        การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • เด็กรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น จากนั้นก็ตอบสนองอย่างเหมาะสม
       การควบคุมกล้ามเนื้อ 
ตัวอย่างกิจกรรมที่ควบคุมกล้ามเนื้อ เช่น 
  1. การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  2. ต่อบล็อก
  3. ศิลปะ
  4. มุมบ้าน
          -  อุปกรณ์ในการเล่นต้องมีขนาดใหญ่และมีไม่ค่อยมาก เช่น บล็อก ถ้ามีเยอะเด็กก็จะเลือกเล่น และเปลี่ยนบ่อยๆ เด็กจะไม่มรสมาธิกับการเล่น
         -   กิจกรรมต้องเลือกให้เหมาะกับความต้องการของเด็ก

       ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
       ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

     การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่งต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน  บอกการทำกิจกรรมให้ชัดเจน เช่น การเดินเวียนโต๊ะเมื่อเด็กทำเสร็จแล้วเพื่อเปลี่ยนกิจกรรมทำสิ่งใหม่
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง เพื่อให้เด็กจำที่นั่งของตนเองได้และไม่เกิดความวุ่นวายเด็กจะมีระเบียบมากขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย ให้เด็กทำสิ่งนั้นบ่อยๆ เด็กจะเกิดความคุ้นเคย ให้เด็กทำซ้ำสิ่งนั้น 1 สัปดาห์ค่อยเปลี่ยน
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรมากที่สุดจากการทำกิจกรรม ครูสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
  • รู้เมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน ครูต้องฉลาดแก้ปัญหา
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมการสอนไว้ล่วงหน้า
  • พูดในทางที่ดี ชมเด็กเสมอเพราะเป็นการให้แรงเสริมในทางบวก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว เพราะเด็กจะชอบกิจกรรมเคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก เมื่อการเรียนสนุกเด็กก็จะอยากมาเรียนและเด็กจะเกิดการเรียนรู้จากบทเรียนที่ครูจัดให้ในแต่ละวัน ครูคือสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  2. เพื่อเข้าใจเด็กพิเศษและจัดการเรียนการสอนอย่างถูกหลัก
  3. เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองของเด็กอย่างถูกวิธี
  4. นำไปบอกเพื่อนหรือผู้ปกครองที่ยังไม่รู้ในบางเรื่อง
  5. เข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  6. วางแผนการจัดการเรียนสำหรับเด็กพิเศษไว้ล่วงหน้าหากเจอสถานการณ์จริง
  7. ใช้ในการปฏิบัติตนหากในอนาคตเจอสถานการณ์เหล่านี้
  8. ใช้ในการปฏิบัติตนเป็นครูที่ดี
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. คุยเก่งมากเหมือนเดิม
  6. เพลิดเพลินกับการเรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่ก็มีมาสายบ้าง
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจจดบันทึก
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น่ารัก
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. อาจารย์ร้องเพลงไพเราะเสมอ

บันทึกอนุทินครั้งที่10


                                                               บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...31....มีนาคม..2558...ครั้งที่...10..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


                 ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเตรียมงาน กีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์











วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


                                                              บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...24....มีนาคม..2558...ครั้งที่...9..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น




                                   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบเก็บคะแนน





วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


                                                            บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...17....มีนาคม..2558...ครั้งที่...8..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

              การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย
 (ทักษะการช่วยเหลือตนเอง)  จุดประสงค์หลักเพื่อ ให้เด็กใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ คือ สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง ,ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ , ส่งเสริมให้เด็กทำสิ่งต่างๆได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น , เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด เช่น การกินอยู่ การแต่งตัว การเข้าห้องน้ำได้ด้วยตนเอง และ การใช้กิจวัตรประจำวัน
           
                 การสร้างความอิสระ

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง ครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กทำงานหรือสิ่งต่างๆเอง ต้องมีไหวพริบและแก้ปัญหาให้เป็น หากเวลาผ่านไปซักพักเด็กยังทำไม่ได้ครูก็อาจจะเข้าไปแนะนำหรือช่วยเหลือ การให้งานกับเด็ครูควรดูความสามารถและพัฒนาการของเด็กว่าเด็กจะทำได้หรือเปล่า ไม่ควรให้ทำงานหรือกิจกรรมที่ยากเกินไป ถ้าเด็กทำงานหรือกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเองเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจ และจะมีกำลังใจในการทำงานชิ้นต่อไป ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กพิเศษ ครูต้องให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง เชื่อมั่นในตัวเด็กและพูดให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเองว่าเขามีความสามารถ เขาทำได้ และเรียนรู้ความรู้สึกที่ดีของกันและกัน
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่ เช่น ในการทำกิจกรรมในห้อง เด็กพิเศษจะมองดูเด็กปกติแล้วตนเองก็นำมาใช้เอง เด็กปกติจึงเปรียบเสมือนครูของเด็กพิเศษ
               หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) ไม่โอ๋เด็กมากเกินไป เด็กให้ช่วยเหลือเรื่องอะไรก็ทำแค่นั้นอย่าทำนอกเหนือความต้องการของเด็ก เพราะผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปแม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เอง หากให้เวลาเด็กทำ เด็กก็จะทำได้ ครูหรือผู้ใหญ่ควรใจเย็นและ รอให้เด็กทำสิ่งต่างๆเอง แม้บางครั้งอาจจะช้ากว่าเด็กบางคนก็ตาม และไม่ควรว่าเด็ก "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้" เพราะจะทำให้เด็กไม่มั่นใจในตนเองและไม่อยากทำต่อ ควรปล่อยให้เด็กทำหากเด็กทำเสร็จเด็กก็จะรู้สึกภูมิใจ ดีใจ
                 จะช่วยเมื่อไหร่
  • เวลาที่เด็กไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งที่เด็กขอความช่วยเหลือในเรื่องที่เด็กเรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องช่วยเหลืองในเรื่องที่เด็กต้องการ
  • ช่วยในช่วงกิจกรรม
                                        ทักษะการช่วยเหลือตนเองในแต่ละช่วงวัย

 
 





           ลำดับขั้นในการช่วยเหลือ
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียนลำดับตามขั้นตอน
  • การย่อยงาน เช่น
           การเข้าส้วม
  1. เข้าไปในห้องส้วม
  2. ดึงกางเกงลง
  3. ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  4. ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  5. ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  6. ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  7. กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  8. ดึงกางเกงขึ้น
  9. ล้างมือ
  10. เช็ดมือ
  11. เดินออกจากห้องส้วม




                        สรุป
  1. ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  2. ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  3. ความสำเร็จชิ้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  4. ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  5. เด็กพึ่งตนเองได้รู้สึกเป็นอิสระ

                                                            กิจกรรมวงกลมทายใจ


                                   
          
   
     


ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
  1. มิติสัมพันธ์
  2. คณิตศาสตร์
  3. การกะระยะ
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
  5. กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  6. สมาธิ
  7. ด้านสังคมการทำงานเป็นทีม
  8. การวางแผน
  9. ความคิดสร้างสรรค์
  10. สามารถนำไปสอนเด็กปฐมวัยได้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  2. เพื่อเข้าใจเด็กพิเศษและจัดการเรียนการสอนอย่างถูกหลัก
  3. เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองของเด็กอย่างถูกวิธี
  4. นำไปบอกเพื่อนหรือผู้ปกครองที่ยังไม่รู้ในบางเรื่อง
  5. เข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  6. วางแผนการจัดการเรียนสำหรับเด็กพิเศษไว้ล่วงหน้าหากเจอสถานการณ์จริง
  7. ใช้ในการปฏิบัติตนหากในอนาคตเจอสถานการณ์เหล่านี้
  8. ใช้ในการเขียนแผน IEP ให้กับเด็พิเศษ
  9. นำเรื่องการย่อยงานไปใช้กับเด็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. คุยเก่งมากเหมือนเดิม
  6. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนมากกก
  7. เพลิดเพลินกับการเรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่ก็มีมาสายบ้าง
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องมีการวางแผนก่อนทำเป็นอย่างดี
  4. ขณะทำกิจกรรมก็ช่วยเหลือเพื่อน
  5. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น่ารัก
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. มีกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าสนใจมาให้ทำ
  6. มีเกมทายใจ ตลกๆ ฮาๆ ขำมาให้คลายเครียด ชอบค่ะ
  7. อยากให้อาจารย์นำกิจกรรมเยอะๆและแปลกใหม่มาให้ทำค่ะ
  8. ไม่อยากให้อาจารย์เศร้าเลยค่ะ และไม่อยากให้อาจารย์เล่าเรื่องเศร้าๆก่อนเรียนเพราะไม่มีจิตใจจะเรียน และเช้าวันอังคารไม่อยากให้อาจารย์เครียด เพราะเหมือนวันนั้นอาจารย์จะต้องเครียดทั้งวันแน่เลยค่ะ...ยิ้มๆๆนะคะ อาจารย์เบียร์ สู้ๆๆๆ^^^^^




วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


                                                             บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...10....มีนาคม..2558...ครั้งที่...7..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

                การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 (ทักษะภาษา) ห้องเรียนที่มีการส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น มีตัวหนังสือ ตัวเลขติดตามห้อง มีเพลง มีคำคล้องจอง มีคำศัพท์ เป็นต้น

การวัดความสามารถทาภาษา

  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนอื่นพูดด้วยไหน
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ครูหรือผู้ใหญ่ไม่ควรสนใจการพูดติดขัด การพูดไม่ชัดของเด็ก และห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้า” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด” และอย่าขัดจังหวะเวลาเด็กพูดเพราะขัดจังหวะจะทำให้เด็กไม่มีความ     มั่นใจในการพูดครั้งต่อไป
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น การเปรียบเทียบเป็นสิ่งที่ไม่ดีและคนเป็นครูไม่ควรที่จะเปรียบเทียบเด็กไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เพราะจะทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าแสดงออกและเด็กก็จะเกิดปมในใจ
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวเนื่องจากการได้ยินครูควรสังเกตพฤติกรรมเด็กไปเรื่อยๆ หาวิธีแก้ไขและส่งเสริม หาสาเหตุที่แท้จริง และครูก็อย่าด่วนสรุปการพูดไม่ชัดของเด็กไปเอง เพราะเด็กอาจจะได้ยินเสียงผิดปกติ หรือลิ้นไก่สั้นก็เป็นได้
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
- หากเด็กพิเศษทำได้ 2 ข้อ ถือว่าเก่งมาก

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา การเข้าใจสีหน้าแบะแววตา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด ภาษาท่าทาง กิริยาอาการที่แสดงออกมา
  • ให้เวลาเด็กได้พูด รับฟังความคิดเห็นของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็ได้แสดงออกทางความคิดผ่านการพูดหรือผลงาน
  • คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น) ขณะทำกิจกรรมหรือทำเสร็จครูอาจจะใช้คำถามให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของเขา หากเด็กยังตอบไม่ได้ครูก็อาจจะชี้แนะแนวทางเพื่อให้เด็กมั่นใจที่จะตอบมากยิ่งขึ้น
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตตอบอย่างฉับไว เมื่อเด็กแสดงความคิดหรืออวดผลงานของตนเอง ครูควรที่จะชมทันทีและไม่พูดยาวเกินไปพูดแค่สิ่งที่เด็กต้องการที่จะสื่อสารกับเรา หรือครูไม่ควรพูดมาก
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว อาจจะเรียนรู้ผ่านภาพ ผ่านเสียงเพลง การการสนทนา ผ่านตัวหนังสือที่แปะตามห้องเรียน เป็นต้น
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษจะเลียนแบบเด็กปกติ เด็กปกติเปรียบเสมือนครูของเขา เด็กพิเศษจะดูแล้วก็ทำตาม
  • การกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า)
เช่น  การใส่ที่คาดผม เด็กกำลังใส่ที่คาดผมอยู่
  1. เข้าไปหา แล้วถามว่า "หนูกำลังทำอะไรอยู่คะลูก"
  2. หนูกำลังใส่ที่ คาดผม อยู่ใช่ไหมลูก
  3. ถ้าเด็กยังไม่ตอบ
  4. ให้ครูช่วยใส่ที่ คาดผม ไหมลูก (พูดที่คาดผมบ่อยๆ)
  5. ถ้าเด็กยังไม่พูด ครูจับมือเด็กแล้วใส่ให้เลย
ความรู้ที่ได้รับจากการดูวีดีโอ ผลิบานผ่านมือครู โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • ทำให้เด็กมีสมาธิรู้จักการรอคอย
  • มีทักษะการฟังมากยิ่งขึ้น
  • กิจกรรมมีเพลงมีท่าทางประกอบเพื่อฝึกสมาธิ
  • ใช้กิจกรรมเพื่อเรียกสมาธิตอนเช้าก่อนเข้าสู่กิจกรรมอื่น
  • สำหรับเด็กพิเศษ มีห่วงมาร่วมกิจกรรมใช้เป็นเงื่อนไขในการทำกิจกรรม จาก 1 วงเพื่อขึ้นเรื่อยๆเพื่อความยากในการกระโดด ฝึกให้เด็กกระโดดจนกระโดดเก่ง เมื่อเด้กทำได้เขาจะเกิดความภูมิใจและมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
  • การกระโดดเป็นการฝึกการกะระยะฝึกความสัมพันธ์ระหว่างตา
งานศิลปะเพื่อเรียนสมาธิ
    เปิดเพลงจังหวะดนตรีเบาๆ แล้วให้เด็กจับคู่กัน 2 คน แจกกระดาษ 1 แผ่นและหยิบสีคนละ 1 แท่ง แล้วลากสีเป็นรูปทรงเหลี่ยมมีมุม ห้ามมุมหักและเป็นรูปวงกลม และห้ามยกมือขึ้นจนกว่าเพลงจะจบ
เมื่อเพลงจบ ให้เด็ดระบายสีตรงมุมที่มีช่าวงว่างหรือตัดกัน



 
 สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม

  1. มิติสัมพันธ์
  2. ฝึกสมาธิ
  3. พัฒนาอารมณ์และจิตใจ
  4. พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
  5. ความสัมพันธ์ระหว่างมือและตา
  6. ความคิดสร้างสรรค์
  7. ด้านภาษา
  8. ด้านสังคมการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการส่งเสริมทักษะทางภาษากับเด็กปฐมวัยอย่างถูกวิธี
  2. เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
  3. ใช้กับตัวเองเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและเตือนตนเองอยู่เสมอ
  4. ใช้ในการเข้าใจความแตกต่างและธรรมชาติของเด็ก
  5. ใช้ในการฏิบัติตนเมื่อเป็นครูสอนเด็กพิเศษในอนาคต
  6. ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับเด็ก
  7. ใช้ในการปรับพฤติกรรมและให้แรงเสริมที่ถูกต้องกับเด็กปฐมวัย
  8. ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ
  9. ใช้ในการปฏิบัติให้เป็นครูที่ดี มีความรู้และเป็นที่รักของเด็ก
  10. นำไปบอกต่อกับผู้ปกครองหรือเพื่อนที่ยังไม่รู้ในเรื่องของเด็กพิเศษ
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. คุยเก่งมาก
  6. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
  7. ร้องเพลงได้อย่างไพเราะ
  8. เพลิดเพลินกับการเรียน
  9. เมื่อมีจำนวนคนเรียนเพิ่มขึ้นรู้สึกแปลกๆ

ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่ก็มีมาสายมาก
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจร้องเพลงกันทุกคน
  5. เสียงดัง

ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. มีกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าสนใจมาให้ทำ
  6. อยากให้อาจารย์นำกิจกรรมเยอะๆและแปลกใหม่มาให้ทำค่ะ
  7. ไม่ชอบให้อาจารย์ยืนกลางห้องเพราะอาจารย์จะมองไปแต่ข้างหน้าอบากให้อาจารย์ยืนหน้าห้องที่ทุกคนสามารถมองเห็นหน้าอาจารย์ เพราะถ้าหนูมองไม่เห็นหน้าอาจารย์หนูก็จะคุยอย่างเดียว...คริคริ


วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


                                                         บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...3....มีนาคม..2558...ครั้งที่...6..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

          การเรียนการสอนในวันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะทางด้านต่างๆของเด็กพิเศษ (ทักษะทางสังคม) 
             ทักษะทางสังคม

  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  • ปรับพฤติกรรมทางสังคมต้องปรับที่ตัวเด็กเอง
  • ทักษะทางสังคมไม่เกี่ยวเนื่องที่ตัวเด็กจะขึ้นอยู่ที่ตัวเด็กเอง
              กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสัมคม
  • การเล่นเป็นการฝึกการเข้าสังคมอย่างหนึ่งของเด็กเพราะเด็กจะเล่นด้วยกัน
  • การเล่นของเด็กพิเศษจะเลียนแบบเด็กปกติ
  • ครูอย่าตำหนิเด็ก
  • ครูควรสร้างจุดเด่นให้เด็กพิเศษหากเด็กคนอื่นไม่ให้เด็กพิเศษไปเล่นด้วย เช่น อวดของเล่นที่เด็กพิเศษมีอยู่
             ยุทธศาสตร์การสอน
  • ครูเริ่มต้นด้วยการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • ครูต้องจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษ
  • ทำแผน IEP 
  • ครูต้องเข้าใจเด็กแต่ละคนอย่างถ่องแท้
             การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • ครูต้องวางแผนกิจกรรมการเล่นใว้เป็นอย่างดี แต่ละกิจกรรมต้องคำนึงถึงเด้กทุกคน การแบ่งกลุ่มควรจะให้เด็กพิเศษเข้าไปอยู่ในกลุ่มกับเด็กปกติ ถ้ามีเด็กปกติ 4คน ควรจะมีเด็กพิเศษ 2 คน ห้ามมีมากไปกว่านี้เพราะจะเกิดความวุ่นวาย การทำกิจกรรมกลุ่มเด้กปกติเปรียบเสมือนครูคอยช่วยเหลือเด็กปกติ แต่ครูก็ต้องดูแลอยู่ใกล้ๆและเข้าไปประคองมือเด็กในการทำกิจกรรม ทำบ่อยๆเดี๋ยวเด็กก็จะทำเป็นเอง
  • ขณะให้เด็กทำกิจกรรมครูควรเผ้ามองอย่างสนใจและเดินรอบๆห้องบริเวณที่เด็กนั่งเป็นกลุ่ม ถ้าหากครูต้องเข้าไปนั่งบริเวณกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ครูก็ไม่ควรที่จะหันหลังให้อีกกลุ่มหนึ่ง เพราะเด็กจะคิดว่าครูไม่สนใจเขา
                ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็ดเล่น
  • การให้แรงเสริมครูก็ไม่ควรที่จะชมออกหน้าออกตา ควรที่จะยิ้มหรือผยักหน้ารับ หากการทำกิจกรรมใกล้จะจบลงหรือเด็กเริ่มเบื่อครูก็สามารถยืดกิจกรรมได้โดยการเอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม
  • การแจกวัสดุอุปกรณ์การเล่นให้เด็กควรแจกครึ่งนึงในจำนวนเด็ก เพราะ เด็กจะได้รู้จักการรอคอย การแบ่งปัน ถ้ามีครบจำนวนเด็กก็จะเต่างคนต่างเล่น 
  • ครูควรพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน ทำโดยการพูดชักนำของครู
  • เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กเป็นเครื่องต่อรอง
  • การทำกิจกรรมต้องสร้างข้อตกลงทุกครั้ง
                 กิจกรรมสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติ
กิจกรรมคู่ ให้เด็กเลือกหยิบสีที่ตนเองชอบมาคนละ 1 สี ให้เด็กเลือว่าตนเองจะลากเส้นหรือจุด ครูเปิดเพลงให้คนที่ลาก ลากไปเรื่อยๆห้ามยกมือขื้นให้ลากเป็นเส้นเดียว และคนจุดก็จุกตามเส้นตัดที่เป็นวงกลม





              เป็นกิจกรรมที่ฝึกสมาธิ และการบริหารกล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาอารมณ์และจิตใจ ทำให้เด็กอารมณ์ดี เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย และช่วยการส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

                               กิจกรรมการร้องเพลง

            
 

ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
  6. ร้องเพลงได้อย่างไพเราะ

ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจร้องเพลงกันทุกคน
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. มีกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าสนใจมาให้ทำ
  6. อยากให้อาจารย์นำกิจกรรมเยอะๆและแปลกใหม่มาให้ทำค่ะ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


                                                            บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...17..กุมภาพันธ์..2558...ครั้งที่...5..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


                                                             บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...19..กุมภาพันธ์..2558...ครั้งที่...4..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

             การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง การสอนเด็กปกติและเด็กพิเศษ เป็นการปฏิบัติตนของครูที่มีต่อเด็กปกติและเด็กสมาธิสั้น คนเป็นครูต้องมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กทุกคน ทุกประเภท และต้องหาความรู้เพิ่มเติมเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการดูสื่อต่างๆ การอบรมก่อนการสอน หรืออบรมเพิ่มเติมทุกภาคเรียน เพื่อที่จะเข้าใจเด็กพิเศษและเด็กปกติมากยิ่งขึ้น สำหรับเนื้อหาการเรียนในวันนี้มีหัวข้อดังนี้

           การเข้าใจภาวะปกติ
                  คนเป็นครูควรที่จะมองเด็กให้เป็นเด็ก เพราะเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว
 เด็กที่ทำไปเพราะไม่รู้หากเขาทำอะไรผิดคนเป็นครูควรที่จะสั่นสอนมากว่าตำหนิ  ภายในห้องเรียนครูควรจะมองเด็กทุกคนให้ทั่วถึงจำชื่อเด็กทุกคนให้ได้ เวลามองต้องกวาดสายตาไปให้ทั่วไม่ควรหยุดที่เด็กคนใดคนหนึ่ง เด็กทุกคนมีความคล้างคลึงกันมากกว่าแต่กต่างกัน ครูต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละคนและช่วยเหลือในจุดที่เด็กมีพัฒนาการล่าช้า ด้วยกิจกรรมต่างๆที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน  ครูควรที่จะเรียนรู้ และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทุกคนพูดเล่น เป็นกันเองเปรียบเสมือนครอบครัวเดียวกัน ทำให้เด็กทุกคนไว้วางใจและรักในตัวครู การเรียนการสอนก็จะมีแต่ความสุข เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ
           ความพร้อมของเด็ก
    เด็กทุกคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน 
ตามช่วงอายุ และพัฒนาการ

  • วุฒิภาวะ    ความสามารถของเด็กที่จะทำได้ในช่วงอายุนั้นๆ 
  • แรงจูงใจ   ทุกคนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
  • โอกาส      ทุกคนมีโอกาสในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันจึงทำให้พัฒนาการของแต่ละคนต่างกัน ดังนั้นการจัดกิจกรรมให้กับเด็กจึงไม่ควรง่ายเกินไปหรือยากเกินไปและกิจกรรมต้องพัฒนาได้ทุกด้าน     
           การสอนโดยบังเอิญ
                      การสอนโดยบังเอิญเกิดขึ้น เมื่อเด็กเดินเข้ามาถามครูในช่วงเวลาว่าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ครูต้องพร้อมตลอดเวลาและต้องสนใจในคำถามของเด็ก ตั้งใจให้เด็กแต่ละคนเกิดการเรียนรู้ ไม่อารมณ์เสียใส่เด็ก ต้องมีความรู้สึกที่ดี เป็นกันเอง และต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน 
                     หากเด็กถามระหว่างทำกิจกรรมครูก็พร้อมที่จะตอบหรือสาธิตเรื่องที่เด็กอยากรู้ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมควรจะง่ายและ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ขณะทำกิจกรรรมครูก็ต้องสาธิตการทำให้เด็กพิเศษดูหลายๆ หรือครูอาจจะให้เด็กปกติคอยช่วยเหลือเด็กพิเศษก็ได้ ครูต้องใช้คำพูดที่เป็นประโยคขอร้องให้เด็กได้ช่วยเหลือกัน  เพราะเด็กปกติจะเรียนรู้ที่จะคอยให้ความช่วยเหลือ ส่วนเด็กพิเศษจะเรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ 

          ตารางประจำวัน
  1. มีความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยเพราะเด็กพิเศษไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
  2. กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  3. เด็กรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  4. การสลับกิจกรรมมีกิจกรรมเงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
  5. คำนึงถึงความพอเหลาะกับเวลา
          ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
  • ครูต้องรู้จักแก้ไขสถานการณ์ การแก้ไขแผนให้เหมาะสบกับสถานการณ์และความเหลาะสม 
  • ต้องตอบตำถามเด็กให้ได้
  • ต้องแก้ปัญหาของเด็กพิเศษที่มีต่อเพื่อนได้ เช่น การหวงของแล้วตีเพื่อนที่มาแย่ง ต้องแก้ไขการตีเพื่อนก่อน ถ้าเด็กเลิกตีเพื่อนแต่ยังหวงของอยู่ แสดงว่ามีปฏิกิริยาดีขึ้น
การใช้สหวิทยา
  • ใจกว้างอย่าคิดว่าตัวเองเก่งต้องทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว รับฟังคนอื่นเสมอ 
  • นำการบำบัดใส่ลงไปในกิจกรรมในห้องเรียนด้วย เช่น การร้องเพลงเบาๆเพื่อฝึกสมาธิ
            การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
ครูต้องคิกว่า เด็กทุกคนเรียนรู้ได้และสอนได้
  
           เทคนิคการให้แรงเสริม

แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
     ความสนใจของผู้ใหญ่ต่อเด็กนั้นสำคัญมาก เด็กจะชอบเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่เมื่อทำสิ่งต่างๆ และเมื่อเด็กทำดีผู้ใหญ่ควรให้คำชมทันทีเมื่อเด็ทำดี  หากเมื่อเด็กทำดีแล้วไม่มีคนสนใจในพฤติกรรมที่เด็กทำ พฤติกรรมเหล่านั้นก็จะค่อยๆหายไป
  
วิธีการแสดงออกถึงให้แรงเสริมของผู้ใหญ่
                                                                     
  • ให้คำชมเชยเด็กจะชอบและจะกล้าแสดงออก
  • การยืนหรือนั่งใกล้ๆ
  • การพยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
  • สัมผัสกาย หรือลูบหาย
  • เข้าไปมีส่วนร่วมหรือช่วยเหลือขณะทำกิจกรรม
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • เด็กทำดี ครูให้แรงเสริมทันที
  • เด็กทำสิ่งไม่ถุกต้องครูต้องบอกหรือไม่สนใจ
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กทำพฤติกรรมที่ถูกต้องนั้นอยู่
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • กำหมดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
  • สอนจากง่ายไปยาก การย่อยงาน คือ บอกเป็นขั้นตอน
  • ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเด็กมีความพยายามที่จะทำ
  • เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้เองมากกว่าที่จะบอกให้เด็กทำ
  • ให้แรงเสริมเฉพาะเรื่องที่เด็กทำตามจุดประสงค์
  • ไม่ดุหรือตีเด็ก ควรจะบอกดีๆและอธิบายเหตุผล
  • จำนวนการให้แรงเสริมต้องเหมาะสมกับพฤติกรรมและการเรียนรู้
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • เมื่อเด็กทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมครูงดการให้แรงเสริม
  • ไม่สนใจเด็กทำอย่างอื่น
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปนอกห้อง
  • เอาเด็กออกจากการเล่น
  • กิจกรรมต่อไปไม่ให้เล่นกับเพื่อนให้นั่งดู
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้กับตัวเองเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและเตือนตนเองอยู่เสมอ
  2. ใช้ในการเข้าใจความแตกต่างและธรรมชาติของเด็ก
  3. ใช้ในการฏิบัติตนเมื่อเป็นครูสอนเด็กพิเศษในอนาคต
  4. ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับเด็ก
  5. ใช้ในการปรับพฤติกรรมและให้แรงเสริมที่ถูกต้องกับเด็กปฐมวัย
  6. ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ
  7. ใช้ในการปฏิบัติให้เป็นครูที่ดี มีความรู้และเป็นที่รักของเด็ก
  8. นำไปบอกต่อกับผู้ปกครองหรือเพื่อนที่ยังไม่รู้ในเรื่องของเด็กพิเศษ
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจเรียนและจดบันทึกระหว่างเรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจจดบันทึกและตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. คุยกันบ้างนิดหน่อย
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อยน่ารัก กลมกลืนนักศึกษา
  3. อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี อธิบายแต่ละหัวข้อได้เข้าใจง่ายมาก เพราะเหมือนอาจารย์อธิบายจากประสบการณ์ตรงมันทำให้หนูรู้สึกได้และเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นค่ะ

   

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



                                                                 บันทึกอนุทิน

                        วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                             อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                วัน/เดือน/ปี...27..มกราคม..2558...ครั้งที่...3..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

                        การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม  
ก่อนเข้าสู่การเรียน ได้ทำกิจกรรมการวาดภาพเหมือนโดยวาดภาพดอกทานตะวัน ที่บานสะพรั่งอยู่กางทุ่ง และดิฉันได้วาดภาพออกมาได้อย่างสวยงามแต่ไม่ค่อยเหมือนเท่าไหร่ค่ะ
                       การวาดภาพเหมือน ก็เปรียบเสมือนการเป็นครูที่มีเด็กพิเศษและเด็กปกติเรียนอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน ครูจะต้องเป็นผู้ที่เก็บลายละเอียดของเด็กได้เป็นอย่างดี เหมือนกับการวาดภาพเหมือน ที่เราจะต้องเก็บทุกลายละเอียดของภาพเพื่อที่จะให้เหมือนกับของจริง

                      เว็บแรกที่มองภาพ คุณเห็นอะไร???

                                              แสงสีทอง   สาดส่องทานตะวัน
                                         เหมือนใจฉัน   เบ่งบานอยู่กลางทุ่ง





ครูไม่ควรวินิจฉัย
  • การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
  • เมื่อครูสงสัยก็ไม่ควรไปฟันธงเด็ก
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
  • ทำให้เด็กรู้สึกแย่
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  • พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  • ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ เช่น วันนี้น้องระบายสีได้ด้วยนะคะ แต่น้องกำสีแน่นเกินไปค่ะ
  • ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
  • ครูไม่ควรเชื่อผู้ปกครองว่าเด็กไม่ปกติ
  • ครูไม่ควรเอาจุดด้อยของเด็กไปบอกพ่อแม่
ครูทำอะไรบ้าง
  •  ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  •  ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  •  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ      ครูสังเกตเด็กเป็นระบบได้ดีเพราะครูอยู่กับเด็กตลอดเวลา เห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆระหว่างทำกิจกรรมและเห็นเด็กตั้งแต่เช้ายันเย็น
  •  จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆเช่น ระหว่างทำกิจกรรม
-  แบบสังเกตพฤติกรรมเด็ก ใช้กับเด็กที่คิดว่ามีพฤติกรรมน่าสงสัย
-  มองเด็กให้เป็นภาพรวมก่อนเช่นมองน้องทามซัก 1 สัปดาห์ ค่อยมาบันทึก
-  เมื่อเจอพฤติกรรมที่ต้องแก้ไข   แก้ไขในสิ่งที่สำคัญสุด ,แก้ไขให้ตรงจุด,มองข้ามสิ่งเล็กน้อย เช่นนอนกอดตุ๊กตา

การตรวจสอบ
  • ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  • บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ นับจากการทำพฤติกรรม เช่น 1 วันทำพฤติกรรมแบบนี้กี่ครั้ง
  • การบันทึกต่อเนื่อง สำคัญสุดมีคุณภาพสุดเพราะทำให้ครูได้ข้อมูลมากสุด เป็นการเขียนบรรยายในช่วงเวลาหนึ่งของกิจกรรม บันทึกตามความเป็นจริง
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  บันทึกเป็นข้อความสั้นๆขณะทำกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดของความบกพร่อง
  • พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
  •  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  •  พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

กิจกรรมการร้องเพลง



การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติที่เรียนอยู่ในห้องเรียนรวม
  2. เข้าใจธรรมชาติของเด็กพิเศษ
  3. เข้าใจและปรับเปลี่ยนแก้ไขพฤติกรรมขอเด็กพิเศษ
  4. นำความรู้ไปบอกต่อแก่ผู้ที่ยังไม่รู้
  5. นำไปใช้ในการเป็นครูในอนาคต
  6. เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติในการเป็นครูในห้องเรียนรวมในอนาคต

ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. วาดรูปดอกทานตะวันได้อย่างสวยงาม
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. ร้องเพลงได้อย่างไพเราะ
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมการวาดภาพเหมือน
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจร้องเพลงกันทุกคน
ประเมินอาจารย์
  1. อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยน่ารัก
  2. มีกิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้นักศึกษาทำ เป็นกิจกรรมที่ดีเพราะเป็นแนวทางในการเรียนรู้สู่การเรียนในหัวข้อบทบาทของครูปฐมวัย
  3. อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายแต่ละเรื่องเข้าใจง่าย
  4. มีเพลงที่แปลกใหม่มาร้องให้นักศึกษาฟังซึ่งไม่เคยได้ยินมาก่อน


วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


                                                                      บันทึกอนุทิน

                           วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                      อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                       วัน/เดือน/ปี...20..มกราคม..2558...ครั้งที่...2..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้


                   การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง  รูปแบบการจัดการศึกษา โดยมีหัวข้อใหญ่ 4 หัวข้อคือ
  • การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
 โดยมีเนื้อหาดังนี้

              การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   เด็กพิเศษทึกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการตามความบกพร่อมหรือความพิเศษของเขา

                                                          การศึกษาแบบเรียนร่วม
                 
                                        (Integrated Education หรือ Mainstreaming)

  • จัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
  • เด็กมาเรียนบางวัน บางเวลา เพื่อมาทำกิจกรรม
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
  • มาทำกิจกรรมช่วงชั่วโมงศิลปะ  กิจกรรมเคลื่อนไหว หรือกิจกรรมดนตรี 
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)

  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  • มาทำกิจกรรมบางวัน
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  • เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
     
                                     ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
                                                 (Inclusive Education)

  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล 
  • เด็กอยู่ในโรงเรียนตั้งแต่แรกจนจบการศึกษา

Wilson , 2007

  • การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
  • การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้


        "Inclusive Education is Education for all, 
        It involves receiving people 
     at the beginning of their education, 
    with provision of additional services 
          needed by each individual"





 สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

  • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
  • การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
  • ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • สอนได้
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับความต้องการของเด็กพิเศษที่แตกต่างกัน
  2. นำความรู้ที่ไปไปใช้ในอนาคตเมื่อจบไปเป็นครู
  3. ใช้ในการรับมือหรือเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในอนาคต
  4. อธิบายในเรื่องของเด็กพิเศษให้กับผู้ปกครองหรือเพื่อนให้เข้าใจหากมีข้อสงสัย
  5. ใช้ในการมองโลกของเด็ดพิเศษว่าเขาควรที่จะได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน
  6. เป็นคุณครูที่ดีในอนาคตรักเด็กเท่ากันและไม่แบ่งแยกความแตกต่างของเด็ก
  7. บอกเด็กปกติให้เข้าใจในอาการของเด็กพิเศษและทำให้เด็กในห้องรักกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  8. ปฏิบัติตนให้เด็กพิเศษไว้ในในตัวเรา เขาจะได้อยากมาโรงเรียนและจะมีความสุขกับการเรียน
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกขณะเรียน
  4. ตั้งใจทำแบบทดสอบหลังเรียนแต่ก็ทำไม่ได้
  5. ต้องกลับมาทบทวนเนื้อหาที่เรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกขณะเรียน
ประเมินอาจารย์

อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจสอนมากและมีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี  มีเทคนิคในการสอนที่แปลกใหม่เพื่อทดสอบความรู้ของนักศึกษาเมื่อเรียนเสร็จ คือทำแบบทดสอบจากเนื้อหาที่พึ่งเรียนไป ซึ่งดีมากๆค่ะ





วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1



                                                                    บันทึกอนุทิน

                             วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                         วัน/เดือน/ปี...2.มกราคม..2558...ครั้งที่...1..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น



       สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

                        การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเฉลยข้อสอบปลายภาคเรียน วิชาการอบรมเลี้ยวดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ตัวอย่างเช่น
                        คำถาม  เด็กชายหนึ่งเป็นออทิสติกและสมาธิสั้นหนึ่งชอบทำกิจกรรมศิลปะและชอบวิชาคณิตศาสตร์เราจะมีวิธีการปับพฤติกรรมอย่างไร
-  ส่งเสริมกิจกรรมที่เด็กชอบทำคือวิชาคณิตศาสตร์และศิลปะ
-  ให้เด็กทำกิจกรรมที่หลากหลาย
-  ปรึกษาพ่อแม่และผู้ปกครองเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของเด็ก
-  ให้เด็กทำกิจกรรมที่ไม่ชอบซ้ำๆบ่อยๆ
-  เปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมที่ชอบให้เด็กทำหลากหลายรูปแบบและเน้นให้เด็กทำซ้ำๆกิจกรรมที่ไม่ชอบและไม่ทำ
-  สภาพแวดล้อมต้องเอื้อต่อการเรียนรู้จัดที่นั่งให้ใกล้ครูและห่างจากประตู
-  เขียนแผน IEP เพื่อใช้ในการส่งเสริมตลอดเทอม

                     กิจกรรมการร้องเพลงในชั้นเรียน


เนื้อเพลง

    
     การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  • ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ถูกต้องและเหมาะกับเด็กอย่างถูกประเภท
  • นำเพลงไปใช้สอนเด็กปฐมวัย
  • ใช้ในกิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปฐมวัย
      ประเมินตนเอง
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • แต่งกายเรียบร้อย
  • ตั้งใจร้องเพลงตามอาจารย์สอน
  • ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกขณะเรียน
      ประเมินเพื่อน
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • แต่งกายเรียนร้อย
  • ตั้งใจร้องเพลงที่อาจารย์สอนและจดบันทึกขณะเรียน
      ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจสอนและตั้งใจร้องเพลงให้นักศึกษาฟังมากค่ะ