วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


                                                             บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...10....มีนาคม..2558...ครั้งที่...7..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

                การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 (ทักษะภาษา) ห้องเรียนที่มีการส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น มีตัวหนังสือ ตัวเลขติดตามห้อง มีเพลง มีคำคล้องจอง มีคำศัพท์ เป็นต้น

การวัดความสามารถทาภาษา

  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนอื่นพูดด้วยไหน
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ครูหรือผู้ใหญ่ไม่ควรสนใจการพูดติดขัด การพูดไม่ชัดของเด็ก และห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้า” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด” และอย่าขัดจังหวะเวลาเด็กพูดเพราะขัดจังหวะจะทำให้เด็กไม่มีความ     มั่นใจในการพูดครั้งต่อไป
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น การเปรียบเทียบเป็นสิ่งที่ไม่ดีและคนเป็นครูไม่ควรที่จะเปรียบเทียบเด็กไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เพราะจะทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าแสดงออกและเด็กก็จะเกิดปมในใจ
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวเนื่องจากการได้ยินครูควรสังเกตพฤติกรรมเด็กไปเรื่อยๆ หาวิธีแก้ไขและส่งเสริม หาสาเหตุที่แท้จริง และครูก็อย่าด่วนสรุปการพูดไม่ชัดของเด็กไปเอง เพราะเด็กอาจจะได้ยินเสียงผิดปกติ หรือลิ้นไก่สั้นก็เป็นได้
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
- หากเด็กพิเศษทำได้ 2 ข้อ ถือว่าเก่งมาก

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา การเข้าใจสีหน้าแบะแววตา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด ภาษาท่าทาง กิริยาอาการที่แสดงออกมา
  • ให้เวลาเด็กได้พูด รับฟังความคิดเห็นของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็ได้แสดงออกทางความคิดผ่านการพูดหรือผลงาน
  • คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น) ขณะทำกิจกรรมหรือทำเสร็จครูอาจจะใช้คำถามให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของเขา หากเด็กยังตอบไม่ได้ครูก็อาจจะชี้แนะแนวทางเพื่อให้เด็กมั่นใจที่จะตอบมากยิ่งขึ้น
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตตอบอย่างฉับไว เมื่อเด็กแสดงความคิดหรืออวดผลงานของตนเอง ครูควรที่จะชมทันทีและไม่พูดยาวเกินไปพูดแค่สิ่งที่เด็กต้องการที่จะสื่อสารกับเรา หรือครูไม่ควรพูดมาก
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว อาจจะเรียนรู้ผ่านภาพ ผ่านเสียงเพลง การการสนทนา ผ่านตัวหนังสือที่แปะตามห้องเรียน เป็นต้น
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษจะเลียนแบบเด็กปกติ เด็กปกติเปรียบเสมือนครูของเขา เด็กพิเศษจะดูแล้วก็ทำตาม
  • การกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า)
เช่น  การใส่ที่คาดผม เด็กกำลังใส่ที่คาดผมอยู่
  1. เข้าไปหา แล้วถามว่า "หนูกำลังทำอะไรอยู่คะลูก"
  2. หนูกำลังใส่ที่ คาดผม อยู่ใช่ไหมลูก
  3. ถ้าเด็กยังไม่ตอบ
  4. ให้ครูช่วยใส่ที่ คาดผม ไหมลูก (พูดที่คาดผมบ่อยๆ)
  5. ถ้าเด็กยังไม่พูด ครูจับมือเด็กแล้วใส่ให้เลย
ความรู้ที่ได้รับจากการดูวีดีโอ ผลิบานผ่านมือครู โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • ทำให้เด็กมีสมาธิรู้จักการรอคอย
  • มีทักษะการฟังมากยิ่งขึ้น
  • กิจกรรมมีเพลงมีท่าทางประกอบเพื่อฝึกสมาธิ
  • ใช้กิจกรรมเพื่อเรียกสมาธิตอนเช้าก่อนเข้าสู่กิจกรรมอื่น
  • สำหรับเด็กพิเศษ มีห่วงมาร่วมกิจกรรมใช้เป็นเงื่อนไขในการทำกิจกรรม จาก 1 วงเพื่อขึ้นเรื่อยๆเพื่อความยากในการกระโดด ฝึกให้เด็กกระโดดจนกระโดดเก่ง เมื่อเด้กทำได้เขาจะเกิดความภูมิใจและมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
  • การกระโดดเป็นการฝึกการกะระยะฝึกความสัมพันธ์ระหว่างตา
งานศิลปะเพื่อเรียนสมาธิ
    เปิดเพลงจังหวะดนตรีเบาๆ แล้วให้เด็กจับคู่กัน 2 คน แจกกระดาษ 1 แผ่นและหยิบสีคนละ 1 แท่ง แล้วลากสีเป็นรูปทรงเหลี่ยมมีมุม ห้ามมุมหักและเป็นรูปวงกลม และห้ามยกมือขึ้นจนกว่าเพลงจะจบ
เมื่อเพลงจบ ให้เด็ดระบายสีตรงมุมที่มีช่าวงว่างหรือตัดกัน



 
 สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม

  1. มิติสัมพันธ์
  2. ฝึกสมาธิ
  3. พัฒนาอารมณ์และจิตใจ
  4. พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
  5. ความสัมพันธ์ระหว่างมือและตา
  6. ความคิดสร้างสรรค์
  7. ด้านภาษา
  8. ด้านสังคมการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการส่งเสริมทักษะทางภาษากับเด็กปฐมวัยอย่างถูกวิธี
  2. เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
  3. ใช้กับตัวเองเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและเตือนตนเองอยู่เสมอ
  4. ใช้ในการเข้าใจความแตกต่างและธรรมชาติของเด็ก
  5. ใช้ในการฏิบัติตนเมื่อเป็นครูสอนเด็กพิเศษในอนาคต
  6. ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับเด็ก
  7. ใช้ในการปรับพฤติกรรมและให้แรงเสริมที่ถูกต้องกับเด็กปฐมวัย
  8. ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ
  9. ใช้ในการปฏิบัติให้เป็นครูที่ดี มีความรู้และเป็นที่รักของเด็ก
  10. นำไปบอกต่อกับผู้ปกครองหรือเพื่อนที่ยังไม่รู้ในเรื่องของเด็กพิเศษ
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. คุยเก่งมาก
  6. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
  7. ร้องเพลงได้อย่างไพเราะ
  8. เพลิดเพลินกับการเรียน
  9. เมื่อมีจำนวนคนเรียนเพิ่มขึ้นรู้สึกแปลกๆ

ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่ก็มีมาสายมาก
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจร้องเพลงกันทุกคน
  5. เสียงดัง

ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. มีกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าสนใจมาให้ทำ
  6. อยากให้อาจารย์นำกิจกรรมเยอะๆและแปลกใหม่มาให้ทำค่ะ
  7. ไม่ชอบให้อาจารย์ยืนกลางห้องเพราะอาจารย์จะมองไปแต่ข้างหน้าอบากให้อาจารย์ยืนหน้าห้องที่ทุกคนสามารถมองเห็นหน้าอาจารย์ เพราะถ้าหนูมองไม่เห็นหน้าอาจารย์หนูก็จะคุยอย่างเดียว...คริคริ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น