วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


                                                               บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...7....เมษายน..2558...ครั้งที่...11..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

          การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ (ทักษะพื้นฐานทางการเรียน)
          เป้าหมายเพื่อ 

  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • พัฒนาความกะตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
         ช่วงความสนใจ  
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
  • การเล่านิทานให้ฟังควรเลือกเรื่องสั้นๆน่าสนใจ
  • เด็กฟังนิทานจบจะเกิดความภูมิใจแล้วอยากฟังอีก
  • ต้องฝึกเด็กพิเศษให้มีสมาธิ 10 -15 นาที
         การเลียบแบบ
  • เด็กพิเศษจะเลียบแบบ เพื่อน ครู รุ่นพี่
  • จับเด็กเป็นคู่ เด็กพิเศษกับเด็กปกติ เวลาเรียกก็เรียกไปทั้ง สองคน
  • กรณีให้เด็กไปหยิบของให้ เช่น น้องแนนเป็นเด็กพิเศษ กอย เป็นเด็กปกติ   ครูต้องเรียกว่า น้องกอยกับน้องแนนไปหยิบหนังสือที่วางอยู่บนโต๊ะครูให้หน่อยนะลูก การเรียนต้องดูด้วยว่าน้องหันมาไหม ถ้าหันมาครูก็สั่ง แต่ถ้ายังไม่หัน ครูก็เรียกซ้ำอีกรอบ เด็กพิเศษจะเลียบแบบเด็กปกติแล้วเดินตามเด็กปกติไป
        การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • เด็กรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น จากนั้นก็ตอบสนองอย่างเหมาะสม
       การควบคุมกล้ามเนื้อ 
ตัวอย่างกิจกรรมที่ควบคุมกล้ามเนื้อ เช่น 
  1. การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  2. ต่อบล็อก
  3. ศิลปะ
  4. มุมบ้าน
          -  อุปกรณ์ในการเล่นต้องมีขนาดใหญ่และมีไม่ค่อยมาก เช่น บล็อก ถ้ามีเยอะเด็กก็จะเลือกเล่น และเปลี่ยนบ่อยๆ เด็กจะไม่มรสมาธิกับการเล่น
         -   กิจกรรมต้องเลือกให้เหมาะกับความต้องการของเด็ก

       ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
       ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

     การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่งต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน  บอกการทำกิจกรรมให้ชัดเจน เช่น การเดินเวียนโต๊ะเมื่อเด็กทำเสร็จแล้วเพื่อเปลี่ยนกิจกรรมทำสิ่งใหม่
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง เพื่อให้เด็กจำที่นั่งของตนเองได้และไม่เกิดความวุ่นวายเด็กจะมีระเบียบมากขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย ให้เด็กทำสิ่งนั้นบ่อยๆ เด็กจะเกิดความคุ้นเคย ให้เด็กทำซ้ำสิ่งนั้น 1 สัปดาห์ค่อยเปลี่ยน
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรมากที่สุดจากการทำกิจกรรม ครูสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
  • รู้เมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน ครูต้องฉลาดแก้ปัญหา
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมการสอนไว้ล่วงหน้า
  • พูดในทางที่ดี ชมเด็กเสมอเพราะเป็นการให้แรงเสริมในทางบวก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว เพราะเด็กจะชอบกิจกรรมเคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก เมื่อการเรียนสนุกเด็กก็จะอยากมาเรียนและเด็กจะเกิดการเรียนรู้จากบทเรียนที่ครูจัดให้ในแต่ละวัน ครูคือสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  2. เพื่อเข้าใจเด็กพิเศษและจัดการเรียนการสอนอย่างถูกหลัก
  3. เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองของเด็กอย่างถูกวิธี
  4. นำไปบอกเพื่อนหรือผู้ปกครองที่ยังไม่รู้ในบางเรื่อง
  5. เข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  6. วางแผนการจัดการเรียนสำหรับเด็กพิเศษไว้ล่วงหน้าหากเจอสถานการณ์จริง
  7. ใช้ในการปฏิบัติตนหากในอนาคตเจอสถานการณ์เหล่านี้
  8. ใช้ในการปฏิบัติตนเป็นครูที่ดี
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. คุยเก่งมากเหมือนเดิม
  6. เพลิดเพลินกับการเรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่ก็มีมาสายบ้าง
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจจดบันทึก
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น่ารัก
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. อาจารย์ร้องเพลงไพเราะเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น