วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


                                                           บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...21....เมษายน..2558...ครั้งที่...12..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

           การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) หรือเรียกว่า แผน IEP
         
           แผน IEP

  • เป็นแผนการศึกษษที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ต้องจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • ในแผนต้องระบุวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดการประเมินผลเด็กให้ชัดเจน
  • 1 แผน ใช้ใน 2 เทอม หรือ 1 ปี
  • การเขียนแผน IEP ร่วมเขียนโดยครูประจำชั้นและผู้ปกครอง
  • เมื่อเขียนแผน IEPเสร็จต้องได้รับการยินยอมหรือการได้รับอนุญาติใช้จาก ผู้บริหาร และผู้ปกครอง จึงจะใช้แผนนั้นได้
         การเขียนแผน IEP
  • การคัดแยกเด็กออก ครูจำเป็นต้องรู้จักเด็กแต่ละคน รู้ว่าเด็กมีปัญหาในเรื่องอะไร เด่นในเรื่องใด ด่อยในเรื่องไหน และควรได้รับการส่งเสริมอย่างไรถึงจะตรงความต้องการของเด็ก เพราะจะได้เขียนแผนตรงตามพัฒนาการและความต้องการของเด็กอย่างละเอียดก่อนเขียน
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ เพื่อทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด การเขียนแผน IEP ส่วนมากจะเขียนในเทอม2 ยกเว้นน้องมีแผนมาจากที่อื่นแล้ว
  • เด็กสามารถทำอะไร / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • เมื่อมีข้อมูลเด็กพร้อมก็เริ่มเขียนแผน IEPได้
          
               IEP  ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมิน
              ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ความสามารถของตนเอง
  • ได้มีโอกาศพัฒนาศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
             ประโยชน์ครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
            ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ 
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร 
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
            ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์ 
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง  พ่อแม่ ครูประจำชั้น ผู้บริหาร ครูการศึกษาพิเศษ
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น 
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม 
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
              การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว 
  • ระยะสั้น
             จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง 
–  น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
–  น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
–  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

            จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร 
  • พฤติกรรมอะไร 
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด) 
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

  • ใคร                                      อรุณ 
  • อะไร                                    กระโดดขาเดียวได้ 
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน                  กิจกรรมกลางแจ้ง 
  • ดีขนาดไหน                         กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที 
3. การใช้แผน    
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก 
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง 
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ 
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น 
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม

                         อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน** 

การจัดทำ IEP

1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. เพื่อนำวิธีการเขียนแผนที่ถูกต้องไปใช้เขียนให้กับเด็กในอนาคต
  2. เพื่อนำวิธีการก่อนการเขียนแผนไปปรับใช้
  3. เตรียมตัวก่อนการเขียนแผนคือการสังเกตพฤติกรรมเด็กให้ละเอียด
  4. มีการวางแผนก่อนการเขียนแผนกับเด็ก
  5. เพื่อที่จะได้เขียนแผนเป็นและดหมาะกับพัฒนาการของเด็ก
  6. ใช้ในการปฏิบัติตนเป็นครูที่ดีในการมอบสิ่งที่ดีๆให้กับเด็กในการเขียนแผน
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม
  5. เพลิดเพลินกับการเรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่ก็มีมาสายบ้าง
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจจดบันทึก
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และทำกิจกรรมในห้อง
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น่ารัก
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. สอนเรื่องการเขียนแผนเข้าใจ
  6. อาจารย์อธิบายได้อย่างเข้าใจ
  7. ขณะทำกิจกรรมในห้องอาจารย์ก็ใส่ใจนักศึกษาโดยการเดินดูทั่วห้อง

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


                                                               บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...7....เมษายน..2558...ครั้งที่...11..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

          การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ (ทักษะพื้นฐานทางการเรียน)
          เป้าหมายเพื่อ 

  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • พัฒนาความกะตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
         ช่วงความสนใจ  
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
  • การเล่านิทานให้ฟังควรเลือกเรื่องสั้นๆน่าสนใจ
  • เด็กฟังนิทานจบจะเกิดความภูมิใจแล้วอยากฟังอีก
  • ต้องฝึกเด็กพิเศษให้มีสมาธิ 10 -15 นาที
         การเลียบแบบ
  • เด็กพิเศษจะเลียบแบบ เพื่อน ครู รุ่นพี่
  • จับเด็กเป็นคู่ เด็กพิเศษกับเด็กปกติ เวลาเรียกก็เรียกไปทั้ง สองคน
  • กรณีให้เด็กไปหยิบของให้ เช่น น้องแนนเป็นเด็กพิเศษ กอย เป็นเด็กปกติ   ครูต้องเรียกว่า น้องกอยกับน้องแนนไปหยิบหนังสือที่วางอยู่บนโต๊ะครูให้หน่อยนะลูก การเรียนต้องดูด้วยว่าน้องหันมาไหม ถ้าหันมาครูก็สั่ง แต่ถ้ายังไม่หัน ครูก็เรียกซ้ำอีกรอบ เด็กพิเศษจะเลียบแบบเด็กปกติแล้วเดินตามเด็กปกติไป
        การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • เด็กรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น จากนั้นก็ตอบสนองอย่างเหมาะสม
       การควบคุมกล้ามเนื้อ 
ตัวอย่างกิจกรรมที่ควบคุมกล้ามเนื้อ เช่น 
  1. การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  2. ต่อบล็อก
  3. ศิลปะ
  4. มุมบ้าน
          -  อุปกรณ์ในการเล่นต้องมีขนาดใหญ่และมีไม่ค่อยมาก เช่น บล็อก ถ้ามีเยอะเด็กก็จะเลือกเล่น และเปลี่ยนบ่อยๆ เด็กจะไม่มรสมาธิกับการเล่น
         -   กิจกรรมต้องเลือกให้เหมาะกับความต้องการของเด็ก

       ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
       ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

     การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่งต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน  บอกการทำกิจกรรมให้ชัดเจน เช่น การเดินเวียนโต๊ะเมื่อเด็กทำเสร็จแล้วเพื่อเปลี่ยนกิจกรรมทำสิ่งใหม่
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง เพื่อให้เด็กจำที่นั่งของตนเองได้และไม่เกิดความวุ่นวายเด็กจะมีระเบียบมากขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย ให้เด็กทำสิ่งนั้นบ่อยๆ เด็กจะเกิดความคุ้นเคย ให้เด็กทำซ้ำสิ่งนั้น 1 สัปดาห์ค่อยเปลี่ยน
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรมากที่สุดจากการทำกิจกรรม ครูสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
  • รู้เมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน ครูต้องฉลาดแก้ปัญหา
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมการสอนไว้ล่วงหน้า
  • พูดในทางที่ดี ชมเด็กเสมอเพราะเป็นการให้แรงเสริมในทางบวก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว เพราะเด็กจะชอบกิจกรรมเคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก เมื่อการเรียนสนุกเด็กก็จะอยากมาเรียนและเด็กจะเกิดการเรียนรู้จากบทเรียนที่ครูจัดให้ในแต่ละวัน ครูคือสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  2. เพื่อเข้าใจเด็กพิเศษและจัดการเรียนการสอนอย่างถูกหลัก
  3. เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองของเด็กอย่างถูกวิธี
  4. นำไปบอกเพื่อนหรือผู้ปกครองที่ยังไม่รู้ในบางเรื่อง
  5. เข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  6. วางแผนการจัดการเรียนสำหรับเด็กพิเศษไว้ล่วงหน้าหากเจอสถานการณ์จริง
  7. ใช้ในการปฏิบัติตนหากในอนาคตเจอสถานการณ์เหล่านี้
  8. ใช้ในการปฏิบัติตนเป็นครูที่ดี
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. คุยเก่งมากเหมือนเดิม
  6. เพลิดเพลินกับการเรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่ก็มีมาสายบ้าง
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจจดบันทึก
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น่ารัก
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. อาจารย์ร้องเพลงไพเราะเสมอ

บันทึกอนุทินครั้งที่10


                                                               บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...31....มีนาคม..2558...ครั้งที่...10..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


                 ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเตรียมงาน กีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์