วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


                                                              บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...24....มีนาคม..2558...ครั้งที่...9..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น




                                   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบเก็บคะแนน





วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


                                                            บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...17....มีนาคม..2558...ครั้งที่...8..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

              การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย
 (ทักษะการช่วยเหลือตนเอง)  จุดประสงค์หลักเพื่อ ให้เด็กใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ คือ สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง ,ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ , ส่งเสริมให้เด็กทำสิ่งต่างๆได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น , เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด เช่น การกินอยู่ การแต่งตัว การเข้าห้องน้ำได้ด้วยตนเอง และ การใช้กิจวัตรประจำวัน
           
                 การสร้างความอิสระ

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง ครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กทำงานหรือสิ่งต่างๆเอง ต้องมีไหวพริบและแก้ปัญหาให้เป็น หากเวลาผ่านไปซักพักเด็กยังทำไม่ได้ครูก็อาจจะเข้าไปแนะนำหรือช่วยเหลือ การให้งานกับเด็ครูควรดูความสามารถและพัฒนาการของเด็กว่าเด็กจะทำได้หรือเปล่า ไม่ควรให้ทำงานหรือกิจกรรมที่ยากเกินไป ถ้าเด็กทำงานหรือกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเองเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจ และจะมีกำลังใจในการทำงานชิ้นต่อไป ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กพิเศษ ครูต้องให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง เชื่อมั่นในตัวเด็กและพูดให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเองว่าเขามีความสามารถ เขาทำได้ และเรียนรู้ความรู้สึกที่ดีของกันและกัน
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่ เช่น ในการทำกิจกรรมในห้อง เด็กพิเศษจะมองดูเด็กปกติแล้วตนเองก็นำมาใช้เอง เด็กปกติจึงเปรียบเสมือนครูของเด็กพิเศษ
               หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) ไม่โอ๋เด็กมากเกินไป เด็กให้ช่วยเหลือเรื่องอะไรก็ทำแค่นั้นอย่าทำนอกเหนือความต้องการของเด็ก เพราะผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปแม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เอง หากให้เวลาเด็กทำ เด็กก็จะทำได้ ครูหรือผู้ใหญ่ควรใจเย็นและ รอให้เด็กทำสิ่งต่างๆเอง แม้บางครั้งอาจจะช้ากว่าเด็กบางคนก็ตาม และไม่ควรว่าเด็ก "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้" เพราะจะทำให้เด็กไม่มั่นใจในตนเองและไม่อยากทำต่อ ควรปล่อยให้เด็กทำหากเด็กทำเสร็จเด็กก็จะรู้สึกภูมิใจ ดีใจ
                 จะช่วยเมื่อไหร่
  • เวลาที่เด็กไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งที่เด็กขอความช่วยเหลือในเรื่องที่เด็กเรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องช่วยเหลืองในเรื่องที่เด็กต้องการ
  • ช่วยในช่วงกิจกรรม
                                        ทักษะการช่วยเหลือตนเองในแต่ละช่วงวัย

 
 





           ลำดับขั้นในการช่วยเหลือ
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียนลำดับตามขั้นตอน
  • การย่อยงาน เช่น
           การเข้าส้วม
  1. เข้าไปในห้องส้วม
  2. ดึงกางเกงลง
  3. ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  4. ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  5. ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  6. ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  7. กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  8. ดึงกางเกงขึ้น
  9. ล้างมือ
  10. เช็ดมือ
  11. เดินออกจากห้องส้วม




                        สรุป
  1. ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  2. ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  3. ความสำเร็จชิ้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  4. ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  5. เด็กพึ่งตนเองได้รู้สึกเป็นอิสระ

                                                            กิจกรรมวงกลมทายใจ


                                   
          
   
     


ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
  1. มิติสัมพันธ์
  2. คณิตศาสตร์
  3. การกะระยะ
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
  5. กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  6. สมาธิ
  7. ด้านสังคมการทำงานเป็นทีม
  8. การวางแผน
  9. ความคิดสร้างสรรค์
  10. สามารถนำไปสอนเด็กปฐมวัยได้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  2. เพื่อเข้าใจเด็กพิเศษและจัดการเรียนการสอนอย่างถูกหลัก
  3. เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองของเด็กอย่างถูกวิธี
  4. นำไปบอกเพื่อนหรือผู้ปกครองที่ยังไม่รู้ในบางเรื่อง
  5. เข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  6. วางแผนการจัดการเรียนสำหรับเด็กพิเศษไว้ล่วงหน้าหากเจอสถานการณ์จริง
  7. ใช้ในการปฏิบัติตนหากในอนาคตเจอสถานการณ์เหล่านี้
  8. ใช้ในการเขียนแผน IEP ให้กับเด็พิเศษ
  9. นำเรื่องการย่อยงานไปใช้กับเด็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. คุยเก่งมากเหมือนเดิม
  6. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนมากกก
  7. เพลิดเพลินกับการเรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่ก็มีมาสายบ้าง
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องมีการวางแผนก่อนทำเป็นอย่างดี
  4. ขณะทำกิจกรรมก็ช่วยเหลือเพื่อน
  5. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น่ารัก
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. มีกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าสนใจมาให้ทำ
  6. มีเกมทายใจ ตลกๆ ฮาๆ ขำมาให้คลายเครียด ชอบค่ะ
  7. อยากให้อาจารย์นำกิจกรรมเยอะๆและแปลกใหม่มาให้ทำค่ะ
  8. ไม่อยากให้อาจารย์เศร้าเลยค่ะ และไม่อยากให้อาจารย์เล่าเรื่องเศร้าๆก่อนเรียนเพราะไม่มีจิตใจจะเรียน และเช้าวันอังคารไม่อยากให้อาจารย์เครียด เพราะเหมือนวันนั้นอาจารย์จะต้องเครียดทั้งวันแน่เลยค่ะ...ยิ้มๆๆนะคะ อาจารย์เบียร์ สู้ๆๆๆ^^^^^




วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


                                                             บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...10....มีนาคม..2558...ครั้งที่...7..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

                การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 (ทักษะภาษา) ห้องเรียนที่มีการส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น มีตัวหนังสือ ตัวเลขติดตามห้อง มีเพลง มีคำคล้องจอง มีคำศัพท์ เป็นต้น

การวัดความสามารถทาภาษา

  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนอื่นพูดด้วยไหน
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ครูหรือผู้ใหญ่ไม่ควรสนใจการพูดติดขัด การพูดไม่ชัดของเด็ก และห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้า” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด” และอย่าขัดจังหวะเวลาเด็กพูดเพราะขัดจังหวะจะทำให้เด็กไม่มีความ     มั่นใจในการพูดครั้งต่อไป
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น การเปรียบเทียบเป็นสิ่งที่ไม่ดีและคนเป็นครูไม่ควรที่จะเปรียบเทียบเด็กไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เพราะจะทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าแสดงออกและเด็กก็จะเกิดปมในใจ
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวเนื่องจากการได้ยินครูควรสังเกตพฤติกรรมเด็กไปเรื่อยๆ หาวิธีแก้ไขและส่งเสริม หาสาเหตุที่แท้จริง และครูก็อย่าด่วนสรุปการพูดไม่ชัดของเด็กไปเอง เพราะเด็กอาจจะได้ยินเสียงผิดปกติ หรือลิ้นไก่สั้นก็เป็นได้
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
- หากเด็กพิเศษทำได้ 2 ข้อ ถือว่าเก่งมาก

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา การเข้าใจสีหน้าแบะแววตา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด ภาษาท่าทาง กิริยาอาการที่แสดงออกมา
  • ให้เวลาเด็กได้พูด รับฟังความคิดเห็นของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็ได้แสดงออกทางความคิดผ่านการพูดหรือผลงาน
  • คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น) ขณะทำกิจกรรมหรือทำเสร็จครูอาจจะใช้คำถามให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของเขา หากเด็กยังตอบไม่ได้ครูก็อาจจะชี้แนะแนวทางเพื่อให้เด็กมั่นใจที่จะตอบมากยิ่งขึ้น
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตตอบอย่างฉับไว เมื่อเด็กแสดงความคิดหรืออวดผลงานของตนเอง ครูควรที่จะชมทันทีและไม่พูดยาวเกินไปพูดแค่สิ่งที่เด็กต้องการที่จะสื่อสารกับเรา หรือครูไม่ควรพูดมาก
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว อาจจะเรียนรู้ผ่านภาพ ผ่านเสียงเพลง การการสนทนา ผ่านตัวหนังสือที่แปะตามห้องเรียน เป็นต้น
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษจะเลียนแบบเด็กปกติ เด็กปกติเปรียบเสมือนครูของเขา เด็กพิเศษจะดูแล้วก็ทำตาม
  • การกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า)
เช่น  การใส่ที่คาดผม เด็กกำลังใส่ที่คาดผมอยู่
  1. เข้าไปหา แล้วถามว่า "หนูกำลังทำอะไรอยู่คะลูก"
  2. หนูกำลังใส่ที่ คาดผม อยู่ใช่ไหมลูก
  3. ถ้าเด็กยังไม่ตอบ
  4. ให้ครูช่วยใส่ที่ คาดผม ไหมลูก (พูดที่คาดผมบ่อยๆ)
  5. ถ้าเด็กยังไม่พูด ครูจับมือเด็กแล้วใส่ให้เลย
ความรู้ที่ได้รับจากการดูวีดีโอ ผลิบานผ่านมือครู โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • ทำให้เด็กมีสมาธิรู้จักการรอคอย
  • มีทักษะการฟังมากยิ่งขึ้น
  • กิจกรรมมีเพลงมีท่าทางประกอบเพื่อฝึกสมาธิ
  • ใช้กิจกรรมเพื่อเรียกสมาธิตอนเช้าก่อนเข้าสู่กิจกรรมอื่น
  • สำหรับเด็กพิเศษ มีห่วงมาร่วมกิจกรรมใช้เป็นเงื่อนไขในการทำกิจกรรม จาก 1 วงเพื่อขึ้นเรื่อยๆเพื่อความยากในการกระโดด ฝึกให้เด็กกระโดดจนกระโดดเก่ง เมื่อเด้กทำได้เขาจะเกิดความภูมิใจและมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
  • การกระโดดเป็นการฝึกการกะระยะฝึกความสัมพันธ์ระหว่างตา
งานศิลปะเพื่อเรียนสมาธิ
    เปิดเพลงจังหวะดนตรีเบาๆ แล้วให้เด็กจับคู่กัน 2 คน แจกกระดาษ 1 แผ่นและหยิบสีคนละ 1 แท่ง แล้วลากสีเป็นรูปทรงเหลี่ยมมีมุม ห้ามมุมหักและเป็นรูปวงกลม และห้ามยกมือขึ้นจนกว่าเพลงจะจบ
เมื่อเพลงจบ ให้เด็ดระบายสีตรงมุมที่มีช่าวงว่างหรือตัดกัน



 
 สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม

  1. มิติสัมพันธ์
  2. ฝึกสมาธิ
  3. พัฒนาอารมณ์และจิตใจ
  4. พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
  5. ความสัมพันธ์ระหว่างมือและตา
  6. ความคิดสร้างสรรค์
  7. ด้านภาษา
  8. ด้านสังคมการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการส่งเสริมทักษะทางภาษากับเด็กปฐมวัยอย่างถูกวิธี
  2. เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
  3. ใช้กับตัวเองเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและเตือนตนเองอยู่เสมอ
  4. ใช้ในการเข้าใจความแตกต่างและธรรมชาติของเด็ก
  5. ใช้ในการฏิบัติตนเมื่อเป็นครูสอนเด็กพิเศษในอนาคต
  6. ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับเด็ก
  7. ใช้ในการปรับพฤติกรรมและให้แรงเสริมที่ถูกต้องกับเด็กปฐมวัย
  8. ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ
  9. ใช้ในการปฏิบัติให้เป็นครูที่ดี มีความรู้และเป็นที่รักของเด็ก
  10. นำไปบอกต่อกับผู้ปกครองหรือเพื่อนที่ยังไม่รู้ในเรื่องของเด็กพิเศษ
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. คุยเก่งมาก
  6. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
  7. ร้องเพลงได้อย่างไพเราะ
  8. เพลิดเพลินกับการเรียน
  9. เมื่อมีจำนวนคนเรียนเพิ่มขึ้นรู้สึกแปลกๆ

ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่ก็มีมาสายมาก
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจร้องเพลงกันทุกคน
  5. เสียงดัง

ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. มีกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าสนใจมาให้ทำ
  6. อยากให้อาจารย์นำกิจกรรมเยอะๆและแปลกใหม่มาให้ทำค่ะ
  7. ไม่ชอบให้อาจารย์ยืนกลางห้องเพราะอาจารย์จะมองไปแต่ข้างหน้าอบากให้อาจารย์ยืนหน้าห้องที่ทุกคนสามารถมองเห็นหน้าอาจารย์ เพราะถ้าหนูมองไม่เห็นหน้าอาจารย์หนูก็จะคุยอย่างเดียว...คริคริ


วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


                                                         บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...3....มีนาคม..2558...ครั้งที่...6..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

          การเรียนการสอนในวันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะทางด้านต่างๆของเด็กพิเศษ (ทักษะทางสังคม) 
             ทักษะทางสังคม

  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  • ปรับพฤติกรรมทางสังคมต้องปรับที่ตัวเด็กเอง
  • ทักษะทางสังคมไม่เกี่ยวเนื่องที่ตัวเด็กจะขึ้นอยู่ที่ตัวเด็กเอง
              กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสัมคม
  • การเล่นเป็นการฝึกการเข้าสังคมอย่างหนึ่งของเด็กเพราะเด็กจะเล่นด้วยกัน
  • การเล่นของเด็กพิเศษจะเลียนแบบเด็กปกติ
  • ครูอย่าตำหนิเด็ก
  • ครูควรสร้างจุดเด่นให้เด็กพิเศษหากเด็กคนอื่นไม่ให้เด็กพิเศษไปเล่นด้วย เช่น อวดของเล่นที่เด็กพิเศษมีอยู่
             ยุทธศาสตร์การสอน
  • ครูเริ่มต้นด้วยการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • ครูต้องจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษ
  • ทำแผน IEP 
  • ครูต้องเข้าใจเด็กแต่ละคนอย่างถ่องแท้
             การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • ครูต้องวางแผนกิจกรรมการเล่นใว้เป็นอย่างดี แต่ละกิจกรรมต้องคำนึงถึงเด้กทุกคน การแบ่งกลุ่มควรจะให้เด็กพิเศษเข้าไปอยู่ในกลุ่มกับเด็กปกติ ถ้ามีเด็กปกติ 4คน ควรจะมีเด็กพิเศษ 2 คน ห้ามมีมากไปกว่านี้เพราะจะเกิดความวุ่นวาย การทำกิจกรรมกลุ่มเด้กปกติเปรียบเสมือนครูคอยช่วยเหลือเด็กปกติ แต่ครูก็ต้องดูแลอยู่ใกล้ๆและเข้าไปประคองมือเด็กในการทำกิจกรรม ทำบ่อยๆเดี๋ยวเด็กก็จะทำเป็นเอง
  • ขณะให้เด็กทำกิจกรรมครูควรเผ้ามองอย่างสนใจและเดินรอบๆห้องบริเวณที่เด็กนั่งเป็นกลุ่ม ถ้าหากครูต้องเข้าไปนั่งบริเวณกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ครูก็ไม่ควรที่จะหันหลังให้อีกกลุ่มหนึ่ง เพราะเด็กจะคิดว่าครูไม่สนใจเขา
                ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็ดเล่น
  • การให้แรงเสริมครูก็ไม่ควรที่จะชมออกหน้าออกตา ควรที่จะยิ้มหรือผยักหน้ารับ หากการทำกิจกรรมใกล้จะจบลงหรือเด็กเริ่มเบื่อครูก็สามารถยืดกิจกรรมได้โดยการเอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม
  • การแจกวัสดุอุปกรณ์การเล่นให้เด็กควรแจกครึ่งนึงในจำนวนเด็ก เพราะ เด็กจะได้รู้จักการรอคอย การแบ่งปัน ถ้ามีครบจำนวนเด็กก็จะเต่างคนต่างเล่น 
  • ครูควรพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน ทำโดยการพูดชักนำของครู
  • เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กเป็นเครื่องต่อรอง
  • การทำกิจกรรมต้องสร้างข้อตกลงทุกครั้ง
                 กิจกรรมสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติ
กิจกรรมคู่ ให้เด็กเลือกหยิบสีที่ตนเองชอบมาคนละ 1 สี ให้เด็กเลือว่าตนเองจะลากเส้นหรือจุด ครูเปิดเพลงให้คนที่ลาก ลากไปเรื่อยๆห้ามยกมือขื้นให้ลากเป็นเส้นเดียว และคนจุดก็จุกตามเส้นตัดที่เป็นวงกลม





              เป็นกิจกรรมที่ฝึกสมาธิ และการบริหารกล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาอารมณ์และจิตใจ ทำให้เด็กอารมณ์ดี เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย และช่วยการส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

                               กิจกรรมการร้องเพลง

            
 

ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
  6. ร้องเพลงได้อย่างไพเราะ

ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจร้องเพลงกันทุกคน
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. สอนเข้าใจอธิบายเห็นภาพมาก
  4. ชอบที่อาจารย์ยกตัวอย่าง
  5. มีกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าสนใจมาให้ทำ
  6. อยากให้อาจารย์นำกิจกรรมเยอะๆและแปลกใหม่มาให้ทำค่ะ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


                                                            บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...17..กุมภาพันธ์..2558...ครั้งที่...5..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้