วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


                                                             บันทึกอนุทิน

                   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                         อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...19..กุมภาพันธ์..2558...ครั้งที่...4..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

             การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง การสอนเด็กปกติและเด็กพิเศษ เป็นการปฏิบัติตนของครูที่มีต่อเด็กปกติและเด็กสมาธิสั้น คนเป็นครูต้องมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กทุกคน ทุกประเภท และต้องหาความรู้เพิ่มเติมเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการดูสื่อต่างๆ การอบรมก่อนการสอน หรืออบรมเพิ่มเติมทุกภาคเรียน เพื่อที่จะเข้าใจเด็กพิเศษและเด็กปกติมากยิ่งขึ้น สำหรับเนื้อหาการเรียนในวันนี้มีหัวข้อดังนี้

           การเข้าใจภาวะปกติ
                  คนเป็นครูควรที่จะมองเด็กให้เป็นเด็ก เพราะเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว
 เด็กที่ทำไปเพราะไม่รู้หากเขาทำอะไรผิดคนเป็นครูควรที่จะสั่นสอนมากว่าตำหนิ  ภายในห้องเรียนครูควรจะมองเด็กทุกคนให้ทั่วถึงจำชื่อเด็กทุกคนให้ได้ เวลามองต้องกวาดสายตาไปให้ทั่วไม่ควรหยุดที่เด็กคนใดคนหนึ่ง เด็กทุกคนมีความคล้างคลึงกันมากกว่าแต่กต่างกัน ครูต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละคนและช่วยเหลือในจุดที่เด็กมีพัฒนาการล่าช้า ด้วยกิจกรรมต่างๆที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน  ครูควรที่จะเรียนรู้ และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทุกคนพูดเล่น เป็นกันเองเปรียบเสมือนครอบครัวเดียวกัน ทำให้เด็กทุกคนไว้วางใจและรักในตัวครู การเรียนการสอนก็จะมีแต่ความสุข เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ
           ความพร้อมของเด็ก
    เด็กทุกคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน 
ตามช่วงอายุ และพัฒนาการ

  • วุฒิภาวะ    ความสามารถของเด็กที่จะทำได้ในช่วงอายุนั้นๆ 
  • แรงจูงใจ   ทุกคนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
  • โอกาส      ทุกคนมีโอกาสในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันจึงทำให้พัฒนาการของแต่ละคนต่างกัน ดังนั้นการจัดกิจกรรมให้กับเด็กจึงไม่ควรง่ายเกินไปหรือยากเกินไปและกิจกรรมต้องพัฒนาได้ทุกด้าน     
           การสอนโดยบังเอิญ
                      การสอนโดยบังเอิญเกิดขึ้น เมื่อเด็กเดินเข้ามาถามครูในช่วงเวลาว่าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ครูต้องพร้อมตลอดเวลาและต้องสนใจในคำถามของเด็ก ตั้งใจให้เด็กแต่ละคนเกิดการเรียนรู้ ไม่อารมณ์เสียใส่เด็ก ต้องมีความรู้สึกที่ดี เป็นกันเอง และต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน 
                     หากเด็กถามระหว่างทำกิจกรรมครูก็พร้อมที่จะตอบหรือสาธิตเรื่องที่เด็กอยากรู้ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมควรจะง่ายและ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ขณะทำกิจกรรรมครูก็ต้องสาธิตการทำให้เด็กพิเศษดูหลายๆ หรือครูอาจจะให้เด็กปกติคอยช่วยเหลือเด็กพิเศษก็ได้ ครูต้องใช้คำพูดที่เป็นประโยคขอร้องให้เด็กได้ช่วยเหลือกัน  เพราะเด็กปกติจะเรียนรู้ที่จะคอยให้ความช่วยเหลือ ส่วนเด็กพิเศษจะเรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ 

          ตารางประจำวัน
  1. มีความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยเพราะเด็กพิเศษไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
  2. กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  3. เด็กรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  4. การสลับกิจกรรมมีกิจกรรมเงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
  5. คำนึงถึงความพอเหลาะกับเวลา
          ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
  • ครูต้องรู้จักแก้ไขสถานการณ์ การแก้ไขแผนให้เหมาะสบกับสถานการณ์และความเหลาะสม 
  • ต้องตอบตำถามเด็กให้ได้
  • ต้องแก้ปัญหาของเด็กพิเศษที่มีต่อเพื่อนได้ เช่น การหวงของแล้วตีเพื่อนที่มาแย่ง ต้องแก้ไขการตีเพื่อนก่อน ถ้าเด็กเลิกตีเพื่อนแต่ยังหวงของอยู่ แสดงว่ามีปฏิกิริยาดีขึ้น
การใช้สหวิทยา
  • ใจกว้างอย่าคิดว่าตัวเองเก่งต้องทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว รับฟังคนอื่นเสมอ 
  • นำการบำบัดใส่ลงไปในกิจกรรมในห้องเรียนด้วย เช่น การร้องเพลงเบาๆเพื่อฝึกสมาธิ
            การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
ครูต้องคิกว่า เด็กทุกคนเรียนรู้ได้และสอนได้
  
           เทคนิคการให้แรงเสริม

แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
     ความสนใจของผู้ใหญ่ต่อเด็กนั้นสำคัญมาก เด็กจะชอบเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่เมื่อทำสิ่งต่างๆ และเมื่อเด็กทำดีผู้ใหญ่ควรให้คำชมทันทีเมื่อเด็ทำดี  หากเมื่อเด็กทำดีแล้วไม่มีคนสนใจในพฤติกรรมที่เด็กทำ พฤติกรรมเหล่านั้นก็จะค่อยๆหายไป
  
วิธีการแสดงออกถึงให้แรงเสริมของผู้ใหญ่
                                                                     
  • ให้คำชมเชยเด็กจะชอบและจะกล้าแสดงออก
  • การยืนหรือนั่งใกล้ๆ
  • การพยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
  • สัมผัสกาย หรือลูบหาย
  • เข้าไปมีส่วนร่วมหรือช่วยเหลือขณะทำกิจกรรม
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • เด็กทำดี ครูให้แรงเสริมทันที
  • เด็กทำสิ่งไม่ถุกต้องครูต้องบอกหรือไม่สนใจ
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กทำพฤติกรรมที่ถูกต้องนั้นอยู่
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • กำหมดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
  • สอนจากง่ายไปยาก การย่อยงาน คือ บอกเป็นขั้นตอน
  • ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเด็กมีความพยายามที่จะทำ
  • เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้เองมากกว่าที่จะบอกให้เด็กทำ
  • ให้แรงเสริมเฉพาะเรื่องที่เด็กทำตามจุดประสงค์
  • ไม่ดุหรือตีเด็ก ควรจะบอกดีๆและอธิบายเหตุผล
  • จำนวนการให้แรงเสริมต้องเหมาะสมกับพฤติกรรมและการเรียนรู้
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • เมื่อเด็กทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมครูงดการให้แรงเสริม
  • ไม่สนใจเด็กทำอย่างอื่น
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปนอกห้อง
  • เอาเด็กออกจากการเล่น
  • กิจกรรมต่อไปไม่ให้เล่นกับเพื่อนให้นั่งดู
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้กับตัวเองเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและเตือนตนเองอยู่เสมอ
  2. ใช้ในการเข้าใจความแตกต่างและธรรมชาติของเด็ก
  3. ใช้ในการฏิบัติตนเมื่อเป็นครูสอนเด็กพิเศษในอนาคต
  4. ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับเด็ก
  5. ใช้ในการปรับพฤติกรรมและให้แรงเสริมที่ถูกต้องกับเด็กปฐมวัย
  6. ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ
  7. ใช้ในการปฏิบัติให้เป็นครูที่ดี มีความรู้และเป็นที่รักของเด็ก
  8. นำไปบอกต่อกับผู้ปกครองหรือเพื่อนที่ยังไม่รู้ในเรื่องของเด็กพิเศษ
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจเรียนและจดบันทึกระหว่างเรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจจดบันทึกและตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  4. คุยกันบ้างนิดหน่อย
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อยน่ารัก กลมกลืนนักศึกษา
  3. อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี อธิบายแต่ละหัวข้อได้เข้าใจง่ายมาก เพราะเหมือนอาจารย์อธิบายจากประสบการณ์ตรงมันทำให้หนูรู้สึกได้และเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นค่ะ

   

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



                                                                 บันทึกอนุทิน

                        วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                             อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                วัน/เดือน/ปี...27..มกราคม..2558...ครั้งที่...3..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

                        การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม  
ก่อนเข้าสู่การเรียน ได้ทำกิจกรรมการวาดภาพเหมือนโดยวาดภาพดอกทานตะวัน ที่บานสะพรั่งอยู่กางทุ่ง และดิฉันได้วาดภาพออกมาได้อย่างสวยงามแต่ไม่ค่อยเหมือนเท่าไหร่ค่ะ
                       การวาดภาพเหมือน ก็เปรียบเสมือนการเป็นครูที่มีเด็กพิเศษและเด็กปกติเรียนอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน ครูจะต้องเป็นผู้ที่เก็บลายละเอียดของเด็กได้เป็นอย่างดี เหมือนกับการวาดภาพเหมือน ที่เราจะต้องเก็บทุกลายละเอียดของภาพเพื่อที่จะให้เหมือนกับของจริง

                      เว็บแรกที่มองภาพ คุณเห็นอะไร???

                                              แสงสีทอง   สาดส่องทานตะวัน
                                         เหมือนใจฉัน   เบ่งบานอยู่กลางทุ่ง





ครูไม่ควรวินิจฉัย
  • การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
  • เมื่อครูสงสัยก็ไม่ควรไปฟันธงเด็ก
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
  • ทำให้เด็กรู้สึกแย่
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  • พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  • ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ เช่น วันนี้น้องระบายสีได้ด้วยนะคะ แต่น้องกำสีแน่นเกินไปค่ะ
  • ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
  • ครูไม่ควรเชื่อผู้ปกครองว่าเด็กไม่ปกติ
  • ครูไม่ควรเอาจุดด้อยของเด็กไปบอกพ่อแม่
ครูทำอะไรบ้าง
  •  ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  •  ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  •  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ      ครูสังเกตเด็กเป็นระบบได้ดีเพราะครูอยู่กับเด็กตลอดเวลา เห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆระหว่างทำกิจกรรมและเห็นเด็กตั้งแต่เช้ายันเย็น
  •  จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆเช่น ระหว่างทำกิจกรรม
-  แบบสังเกตพฤติกรรมเด็ก ใช้กับเด็กที่คิดว่ามีพฤติกรรมน่าสงสัย
-  มองเด็กให้เป็นภาพรวมก่อนเช่นมองน้องทามซัก 1 สัปดาห์ ค่อยมาบันทึก
-  เมื่อเจอพฤติกรรมที่ต้องแก้ไข   แก้ไขในสิ่งที่สำคัญสุด ,แก้ไขให้ตรงจุด,มองข้ามสิ่งเล็กน้อย เช่นนอนกอดตุ๊กตา

การตรวจสอบ
  • ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  • บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ นับจากการทำพฤติกรรม เช่น 1 วันทำพฤติกรรมแบบนี้กี่ครั้ง
  • การบันทึกต่อเนื่อง สำคัญสุดมีคุณภาพสุดเพราะทำให้ครูได้ข้อมูลมากสุด เป็นการเขียนบรรยายในช่วงเวลาหนึ่งของกิจกรรม บันทึกตามความเป็นจริง
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  บันทึกเป็นข้อความสั้นๆขณะทำกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดของความบกพร่อง
  • พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
  •  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  •  พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

กิจกรรมการร้องเพลง



การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติที่เรียนอยู่ในห้องเรียนรวม
  2. เข้าใจธรรมชาติของเด็กพิเศษ
  3. เข้าใจและปรับเปลี่ยนแก้ไขพฤติกรรมขอเด็กพิเศษ
  4. นำความรู้ไปบอกต่อแก่ผู้ที่ยังไม่รู้
  5. นำไปใช้ในการเป็นครูในอนาคต
  6. เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติในการเป็นครูในห้องเรียนรวมในอนาคต

ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. วาดรูปดอกทานตะวันได้อย่างสวยงาม
  4. ตั้งใจจดบันทึกระหว่างเรียน
  5. ร้องเพลงได้อย่างไพเราะ
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมการวาดภาพเหมือน
  4. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจร้องเพลงกันทุกคน
ประเมินอาจารย์
  1. อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยน่ารัก
  2. มีกิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้นักศึกษาทำ เป็นกิจกรรมที่ดีเพราะเป็นแนวทางในการเรียนรู้สู่การเรียนในหัวข้อบทบาทของครูปฐมวัย
  3. อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายแต่ละเรื่องเข้าใจง่าย
  4. มีเพลงที่แปลกใหม่มาร้องให้นักศึกษาฟังซึ่งไม่เคยได้ยินมาก่อน