วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


                                                                      บันทึกอนุทิน

                           วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                      อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                       วัน/เดือน/ปี...20..มกราคม..2558...ครั้งที่...2..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้


                   การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง  รูปแบบการจัดการศึกษา โดยมีหัวข้อใหญ่ 4 หัวข้อคือ
  • การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
 โดยมีเนื้อหาดังนี้

              การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   เด็กพิเศษทึกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการตามความบกพร่อมหรือความพิเศษของเขา

                                                          การศึกษาแบบเรียนร่วม
                 
                                        (Integrated Education หรือ Mainstreaming)

  • จัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
  • เด็กมาเรียนบางวัน บางเวลา เพื่อมาทำกิจกรรม
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
  • มาทำกิจกรรมช่วงชั่วโมงศิลปะ  กิจกรรมเคลื่อนไหว หรือกิจกรรมดนตรี 
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)

  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  • มาทำกิจกรรมบางวัน
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  • เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
     
                                     ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
                                                 (Inclusive Education)

  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล 
  • เด็กอยู่ในโรงเรียนตั้งแต่แรกจนจบการศึกษา

Wilson , 2007

  • การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
  • การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้


        "Inclusive Education is Education for all, 
        It involves receiving people 
     at the beginning of their education, 
    with provision of additional services 
          needed by each individual"





 สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

  • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
  • การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
  • ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • สอนได้
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับความต้องการของเด็กพิเศษที่แตกต่างกัน
  2. นำความรู้ที่ไปไปใช้ในอนาคตเมื่อจบไปเป็นครู
  3. ใช้ในการรับมือหรือเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในอนาคต
  4. อธิบายในเรื่องของเด็กพิเศษให้กับผู้ปกครองหรือเพื่อนให้เข้าใจหากมีข้อสงสัย
  5. ใช้ในการมองโลกของเด็ดพิเศษว่าเขาควรที่จะได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน
  6. เป็นคุณครูที่ดีในอนาคตรักเด็กเท่ากันและไม่แบ่งแยกความแตกต่างของเด็ก
  7. บอกเด็กปกติให้เข้าใจในอาการของเด็กพิเศษและทำให้เด็กในห้องรักกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  8. ปฏิบัติตนให้เด็กพิเศษไว้ในในตัวเรา เขาจะได้อยากมาโรงเรียนและจะมีความสุขกับการเรียน
ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกขณะเรียน
  4. ตั้งใจทำแบบทดสอบหลังเรียนแต่ก็ทำไม่ได้
  5. ต้องกลับมาทบทวนเนื้อหาที่เรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียนร้อย
  3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกขณะเรียน
ประเมินอาจารย์

อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจสอนมากและมีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี  มีเทคนิคในการสอนที่แปลกใหม่เพื่อทดสอบความรู้ของนักศึกษาเมื่อเรียนเสร็จ คือทำแบบทดสอบจากเนื้อหาที่พึ่งเรียนไป ซึ่งดีมากๆค่ะ





วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1



                                                                    บันทึกอนุทิน

                             วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                         วัน/เดือน/ปี...2.มกราคม..2558...ครั้งที่...1..เวลาเรียน..08.30 - 12.20.... น



       สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

                        การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเฉลยข้อสอบปลายภาคเรียน วิชาการอบรมเลี้ยวดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ตัวอย่างเช่น
                        คำถาม  เด็กชายหนึ่งเป็นออทิสติกและสมาธิสั้นหนึ่งชอบทำกิจกรรมศิลปะและชอบวิชาคณิตศาสตร์เราจะมีวิธีการปับพฤติกรรมอย่างไร
-  ส่งเสริมกิจกรรมที่เด็กชอบทำคือวิชาคณิตศาสตร์และศิลปะ
-  ให้เด็กทำกิจกรรมที่หลากหลาย
-  ปรึกษาพ่อแม่และผู้ปกครองเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของเด็ก
-  ให้เด็กทำกิจกรรมที่ไม่ชอบซ้ำๆบ่อยๆ
-  เปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมที่ชอบให้เด็กทำหลากหลายรูปแบบและเน้นให้เด็กทำซ้ำๆกิจกรรมที่ไม่ชอบและไม่ทำ
-  สภาพแวดล้อมต้องเอื้อต่อการเรียนรู้จัดที่นั่งให้ใกล้ครูและห่างจากประตู
-  เขียนแผน IEP เพื่อใช้ในการส่งเสริมตลอดเทอม

                     กิจกรรมการร้องเพลงในชั้นเรียน


เนื้อเพลง

    
     การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  • ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ถูกต้องและเหมาะกับเด็กอย่างถูกประเภท
  • นำเพลงไปใช้สอนเด็กปฐมวัย
  • ใช้ในกิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปฐมวัย
      ประเมินตนเอง
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • แต่งกายเรียบร้อย
  • ตั้งใจร้องเพลงตามอาจารย์สอน
  • ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกขณะเรียน
      ประเมินเพื่อน
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • แต่งกายเรียนร้อย
  • ตั้งใจร้องเพลงที่อาจารย์สอนและจดบันทึกขณะเรียน
      ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจสอนและตั้งใจร้องเพลงให้นักศึกษาฟังมากค่ะ